5 April 2011

4 April 2011

Packing like a Pro

พอจะทราบข้อมูลเบื้องต้นของการไปเยือนประเทศสิงคโปร์กันบ้างไม่มากก็น้อยกันแล้วนะคะ  จริงๆ แล้วเข้าออกประเทศนี้ และการอยู่อาศัยค่อนข้างง่ายนะ แต่อย่าเผลอทำอะไรผิดแม้เพียงเล็กน้อยก็แล้วกัน ..กฎหมายเค้าแรงส์ ..ก็ทราบๆ กันอยู่

เอาล่ะ.. ได้เวลาจัดกระเป๋าเดินทางกันล่ะ มาดูวิธีจัดกระเป๋าเดินทางขั้นเทพกันดีกว่า


ชั้นที่ 1(ชั้นล่างสุด)
  • ควรจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ที่มีน้ำหนักมากที่สุด รวมถึงของที่อยู่ในกล่อง และกระเป๋าเล็กๆ เช่น รองเท้า กระเป๋าใส่อุปกรณ์ที่ใช้ในห้องน้ำ (อย่าลืมใส่ถุงพลาสติกหรือถุง zip lock ก่อนนะคะ เพราะถ้าของเหลวเล็ดลอดออกมา จะทำให้เสื้อผ้าเครื่องใช้เสียหายเป็นการใหญ่) กระเป๋าเครื่องสำอาง กระเป๋าเครื่องประดับ กล่องแว่นตา
  • ควรใส่รองเท้าในถุงสำหรับใส่รองเท้าหรือถุงพลาสติก เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกตกใส่เสื้อผ้า และควรใส่เพียงถุงละข้างเดียวเพื่อไม่ให้รองเท้าถูกันเป็นรอย ม้วนถุงเท้าใส่ถุงพลาสติกแล้วสอดเข้าไปในรองเท้า เพื่อรักษารูปทรงรองเท้าและไม่ให้เปลืองเนื้อที่กระเป๋า แถมขากลับยังสามารถใช้ถุงเหล่านี้แพ็กกางเกงชั้นในและถุงเท้าที่ใช้แล้ว สอดกลับเข้าไปในรองเท้าได้อีกด้วย
  • ให้วางรองเท้าสลับหัวกันเพื่อประหยัดเนื้อที่ ตามด้วยกระเป๋าเครื่องสำอาง กล่องหรือกระเป๋าใส่เครื่องประดับ
  • จากนั้นให้ม้วนเสื้อยืดหรือเสื้อโปโล จัดเรียงลงในกระเป๋าโดยหันคอเสื้อไปในทางเดียวกัน หากมีที่เหลือให้ม้วนถุงเท้าวางลงไปด้วย รวมถึงเสื้อและกางเกงชั้นในเพื่อให้เต็มพื้นที่ และป้องกันไม่ให้เสื้อผ้าหรือสิ่งของกลิ้งไปมา 
  • เวลาจัดวางก็อย่าลืมกระจายน้ำหนักให้ดีๆ เช่นจัดวางกระเป๋าเครื่องใช้ส่วนตัวและกล่องต่างๆไว้ช่วงกลางกระเป๋า ล้อมรอบด้วยเสื้อผ้าที่ม้วนไว้แล้วเพื่อโอบรอบนอกไว้แน่นๆ น้ำหนักจะได้ไม่กองอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง ทำให้ยกกระเป๋าเดินทางลำบากเพื่อป้องกันไม่ให้บราตัวสวยถูกกดทับจนบุบบี้เสียทรง ให้ใส่อะไรนิ่มๆ เช่น ถุงเท้าหรือกางเกงชั้นในเข้าไปด้านในกระเปาะบราก่อน แล้วจึงจัดวางเข้ามุม โดยให้โค้งรับไปกับมุมของกระเป๋าเดินทาง เพื่อเป็นการรักษาทรง 

ชั้นที่ 2  
  • จัดวางกางเกง โดยวางแบบสลับฟันปลาและทิ้งขากางเกงไว้ด้านนอกกระเป๋าก่อน ถ้าเป็นกางเกงยีนส์ให้ห่อด้วยถุงพลาสติกเพื่อไม่ให้สีเปื้อนเสื้อผ้าตัวอื่นๆ และถ้ามีกางเกงสูท ให้จัดวางเป็นอันดับสุดท้าย
  • สำหรับเข็มขัด ควรห่อหัวเข็มขัดทุกครั้งเพื่อป้องกันการขีดข่วน และควรคลี่เข็มขัดออกก่อนจัดวางริมขอบกระเป๋าในลักษณะโอบล้อมเสื้อผ้า
  • จัดวางเสื้อหนาวและเสื้อเชิ้ต โดยกลับคอปกเสื้อให้ตั้งขึ้นทุกครั้งและติดกระดุมเสื้อเชิ้ตทุกเม็ด เพื่อไม่ให้เสื้อถูกดึงเสียทรง วางพาดเน็กไท ที่ห่อด้วยถุงพลาสติกลงในแนวขวาง แล้วจึงพับขากางเกงทั้งสองข้างที่ทิ้งไว้นอกกระเป๋าเข้าหากัน 
  • สำหรับกางเกงลำลอง กางเกงยีนส์ เน็คไท จะใช้วิธีม้วนก็ได้ โดยพับประกบขากางเกงเข้าหากันในแนวยาว แล้วใช้วิธีม้วนจากด้านล่างขึ้นไปด้านบน ซึ่งก็จะช่วยป้องกันไม่ให้ยับได้เช่นกัน  
ชั้นที่ 3  

          หากนำชุดราตรีเนื้อบางเบาไปด้วย ควรห่อชุดด้วยถุงพลาสติกและพยายามหลีกเลี่ยงการถูกกดทับ คือวางไว้บนชั้นที่ 3 นี้ และควรนำเสื้อโค้ตหรือแจ๊กเก็ตซึ่งเป็นชิ้นที่ยับยากที่สุดมาวางทับ เพราะเนื้อผ้าของเสื้อโค้ตมีความหนา ไม่ยับง่าย จะช่วยป้องกันชุดผ้าเนื้อเบาได้ดี แล้วจึงคาดเข็มขัดด้านในกระเป๋า เพื่อกันไม่ให้ของที่แพ็กไว้เคลื่อนที่มากเกินไปก่อนปิดกระเป๋า




:: ข้อแนะนำสำหรับขาช็อป ::      

          ควรนำกระเป๋าเปล่าแบบพับได้ติดตัวไปด้วย โดยวางลงชั้นบนสุดเป็นชิ้นสุดท้าย เผื่อไว้ใช้ใส่สัมภาระที่เพิ่มขึ้นจากการช้อปปิ้ง และอย่าลืมพกกุญแจล็อกสำหรับกระเป๋าใบนี้ไปด้วยนะคะ และต้องเป็น FDA Approved Lock หากเดินทางในอเมริกา  
     

          ถุง zip lock สารพัดประโยชน์ ใช้ได้เสมอสำหรับใส่ขวดแชมพู ยาสีฟัน สเปรย์ฉัดผม หรืออะไรก็ตามที่หกเลอะได้ง่าย 
     

          ถ้าเดินทางไปเมืองหนาวจัด หรือไปสกี ต้องใช้เสื้อหนาวตัวหนามากมาย แนะนำให้ซื้อถุงพลาสติกสูญญากาศ (Vacuum Bag) ขนาดใหญ่พกติดตัวไปด้วยสัก 3-4 ถุงเสมอ เพราะเมื่อแพ็กแจ๊กเก็ตตัวฟูเข้าในถุงนี้แล้วรีดอากาศออกจนหมด เสื้อพองฟูจะเหลือตัวแห้งแบนแต๋ เพิ่มที่ในกระเป๋าได้อีกบานสำหรับขากลับ ลองดูที่ www.spacebag.com ก่อนก็ได้ หรือถ้าไปเที่ยวญี่ปุ่น แนะนำให้ซื้อตุนของยี่ห้อ TRAVESIA กลับมาเลย หาซื้อได้จาก Tokyu Hands หรือ Loft ค่ะ
     

          เมื่อนำเสื้อผ้าออกจากกระเป๋า แล้วพบว่า เสื้อผ้าบางชิ้นมีรอยยับ ให้นำออกมาใส่ไม้แขวนทิ้งไว้สักครู่ ถ้าเป็นผ้าไหม ให้แขวนไว้ในห้องน้ำ เปิดน้ำอุ่นไว้เหมือนเป็นการอบไอน้ำสักครู่ รอยยับจะคลายตัวไปเอง


ที่มา : วิธีจัดกระเป๋าอย่างมืออาชีพ

SG Information


ข้อมูลทั่วไป

ชื่อทางการ สาธารณรัฐสิงคโปร์

เมืองหลวง สิงคโปร์

พื้นที่ 697.1 ตารางกิโลเมตร ยอดเขาสูงที่สุดคือ Bukit Timah แม่น้ำสายหลักคือ Singapore และ Rochor สิงคโปร์มีถนน และรถไฟเชื่อมกับมาเลเซีย ณ Singapore/Johor Causeway ระยะทางประมาณ 6 กม.

ประชากร 4.2 ล้านคน (ชาวจีน 76% ชาวมาเลย์ 13.7% ชาวอินเดีย 8.4% และอื่นๆ 1.9% ) ซึ่งอยู่กันโดยไม่มีปัญหา ความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ นอกจากนี้สิงคโปร์ยังเป็นประเทศในเอเชียที่มีการวางแผนครอบครัวได้ดีมาก จนทำให้จำนวนประชากรลดลง และก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอนาคต

ภาษา ภาษาทางราชการ คือ ภาษามาเลย์ จีนกลาง ทมิฬ และอังกฤษ สิงคโปร์ส่งเสริมให้ประชาชนพูด 2 ภาษา โดยเฉพาะจีนกลาง ในขณะที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่องานและในชีวิตประจำวัน

ศาสนา 51% นับถือศาสนาพุทธ ลัทธิเต๋าและขงจื๊อ 15% นับถือศาสนาอิสลาม 4% นับถือศาสนาฮินดู 15% นับถือศาสนาคริสต์ และร้อยละที่เหลือคือลัทธิอื่นๆ

การปกครอง ระบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล รัฐสภามีวาระคราวละ 5 ปี นโยบายต่างประเทศสิงคโปร์เน้นด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและการลงทุนจากต่างประเทศ

อากาศ ร้อนชื้น มีฝนตกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 26.8 องศาเซลเซียส



สภาพภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศของสิงคโปร์ คล้ายกับประเทศไทย คือ เป็นแบบร้อนชื้น ฝนตกชุกตลอดปีเนื่องจากอิทธิพลทางทะเลและที่ตั้งของประเทศ

เศรษฐกิจ
สิงคโปร์จัดอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่เช่นเดียวกับ ฮ่องกง ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ผลิตภัณฑ์ส่งออกหลัก คือ ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์นำเข้าส่วนใหญ่ ได้แก่ พลังงาน ( 40% ของการนำเข้าทั้งหมด) และอาหาร นอกจากนั้น การท่องเที่ยวก็นำรายได้เข้าประเทศมากเช่นกัน

สังคม
ชาวสิงคโปร์ถือว่ามาตรฐานการครองชีพของตนดีกว่าประเทศอื่น แต่ขณะเดียวกันความกลัวในจิตใจ คือ กลัวความล้มเหลวกับกลัวการเสียเปรียบ

หน่วยราชการของสิงคโปร์มีประสิทธิภาพและรวดเร็วในการทำงาน โดยมีเวลาทำงาน จันทร์-ศุกร์ 08.30-13.00 และ 14.00-16.30 น. และเสาร์ 08.00-13.00 น.

การบริการทางการแพทย์ในสิงคโปร์แพงกว่าประเทศไทยมาก และการซื้อยารักษาโรคประเภทยาปฏิชีวนะและยาอันตราย จะต้องมีใบสั่งแพทย์ แต่ยารักษาโรคพื้นฐานสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป



ค่าครองชีพ
มาตรฐานคุณภาพชีวิตของสิงคโปร์อยู่ในระดับต้นๆของเอเชีย เทียบกับประเทศอื่นๆในตะวันตกแล้วค่าครองชีพที่สิงคโปร์นับว่าไม่สูงมากนัก ราคาสินค้าพื้นฐานอย่างอาหาร หรือเสื้อผ้าก็นับว่าสมเหตุสมผล

เวลา
เวลาของสิงคโปร์เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง (GMT +8.00)

ไฟฟ้า
สำหรับกระแสไฟทางสิงคโปร์ใช้เหมือนบ้านเราคือ 220 โวลต์ แต่ความแตกต่างนั้นคือ สิงคโปร์ใช้เต้าเสียบแบบ 3 ขา (บ้านเราใช้ 2 ขา) ฉะนั้นอย่าลืมว่า ต้องนำปลั๊กต่อไปด้วย

สกุลเงินตรา
หน่วยเงินตราของสิงคโปร์คือ ดอลลาร์ (Singapore Dollar) โดยแบ่งค่าเงินต่าง ๆ ออกเป็นดังนี้ ธนบัตรมูลค่า S$2, S$5, S$10, S$20, S$50, S$100, S$500, S$1,000 และ S$10,000 เงินเหรียญมีตั้งแต่ 1, 5, 10, 20 และ 50 เซนต์ รวมถึง S$ 1

กฎหมาย
สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขานในเรื่องความปลอดภัย ความสะอาด ประชากรมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่สูง เนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีกฎหมายลงโทษร้ายแรง คือ การประหารชีวิต หรือโทษจำคุกระยะยาว เช่น ที่สิงคโปร์นั้น ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะอย่างเด็ดขาด หากฝ่าฝืนปรับถึง S$1,000 การทิ้งเศษขยะลงพื้น ฝ่าฝืนครั้งแรกถูกปรับ S$1,000 ครั้งต่อไป S$2,000 และต้องทำความสะอาดในที่สาธารณะด้วย
กฎหมายนี้รวมถึงการห้ามถ่มน้ำลายในที่สาธารณะ และห้ามเคี้ยวหมากฝรั่งด้วยดังนั้น ไม่ควรนำหมากฝรั่งไปที่สิงคโปร์ การเสพหรือจำหน่ายยาเสพติดในประเทศสิงคโปร์นั้นมีความผิดขั้นร้ายแรงถึงประหารชีวิต

ที่มา : สนุกแคมปัส

31 March 2011

Nuclear in Japan

This clip is very funny! I really like it! Thank you for the creator to create this video which would make many people who are still stressed about it a little more relaxed. ^^


Visa # 2

กรณีที่ท่านมีคู่สมรสอาศัยอยู่ในประเทศสิงคโปร์ ต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
  • สำเนาใบทะเบียนสมรส / ใบหย่า
  • สำเนาเอกสารใบรับรองการศึกษาระดับสูงสุดคู่สมรส
  • จดหมายรับรองการทำงานจากนายจ้างของญาติ โดยระบุ ถึงการเริ่มเข้าทำงาน, ตำแหน่งงาน และ เงินเดือน หรือ กรณีที่ญาติของท่านเป็นเจ้าของกิจการในประเทศสิงคโปร์ เอกสารหลักฐานที่ต้องแสดง คือ ใบจดทะเบียนการค้า โดยเอกสารเหล่านี้ต้องออกไม่น้อยกว่า 1 เดือน
  • หลักฐานทางการเงิน Statement ย้อนหลัง 1 ปี
  • สำเนาเอกสารแสดงรายได้ / การเสียภาษีของคู่สมรส ย้อนหลัง 3 ปี


สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ สิงคโปร์ (Royal Thai Embassy)

370 ถนนออร์ชาร์ด (Royal Thai Embassy,370 Orchard Road, Singapore 238870)
โทรศัพท์ (65) 6737-2644, 6737-2158
โทรสาร (65) 6732-0778, 6835-4991
เวลาทำการ จันทร์-ศุกร์


  • แผนกวีซ่า >>  เปิดทำการเพื่อรับยื่นเรื่องขอประทับตราวีซ่า เวลา 9.15-12.15 น.
    เปิดทำการเพื่อขอรับเอกสารเดินทางพร้อมตราประทับวีซ่าคืน เวลา 14.00-16.30 น.
  • แผนกหนังสือเดินทาง >>  เปิดทำการเพื่อรับยื่นเรื่องเกี่ยวกับหนังสือเดินทางไทย เวลา 9.15-12.15 น. เปิดทำการเพื่อขอรับหนังสือเดินทางคืน เวลา 14.00-16.30 น.

22 March 2011

Visa # 1

การขอวีซ่าสิงคโปร์ (Singapore Visa)

สำหรับคนไทยการเดินทางไปประเทศสิงคโปร์ หากไม่เกิน 30 วัน จะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องทำเรื่องยื่นขอทำวีซ่า


ดูดาวมาหลายครั้งๆ ละไม่กี่วัน

หากต้องการอยู่เกิน 30 วัน สามารถขอวีซ่า / สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่..

สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ สิงคโปร์ (Royal Thai Embassy)

370 ถนนออร์ชาร์ด (Royal Thai Embassy,370 Orchard Road, Singapore 238870)
โทรศัพท์ (65) 6737-2644, 6737-2158
โทรสาร (65) 6732-0778, 6835-4991
เวลาทำการ จันทร์-ศุกร์


  • แผนกวีซ่า >>  เปิดทำการเพื่อรับยื่นเรื่องขอประทับตราวีซ่า เวลา 9.15-12.15 น.
    เปิดทำการเพื่อขอรับเอกสารเดินทางพร้อมตราประทับวีซ่าคืน เวลา 14.00-16.30 น.
  • แผนกหนังสือเดินทาง >>  เปิดทำการเพื่อรับยื่นเรื่องเกี่ยวกับหนังสือเดินทางไทย เวลา 9.15-12.15 น.
    เปิดทำการเพื่อขอรับหนังสือเดินทางคืน เวลา 14.00-16.30 น.
ที่มา : สนุกแคมปัส

21 March 2011

Passport


อย่างแรกเลยต้องมี หนังสือเดินทาง (Passport) จะต้องมีอายุ เหลือไม่ต่ำกว่า 6 เดือน (นับจากวันที่เดินทางกลับจริง)

:: ขั้นตอนการยื่นขอหนังสือเดินทางใหม่ ::
  1. รับบัตรคิว
  2. ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลัก (หากไม่มีเลข 13 หลัก ต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดง) พร้อมเอกสารหลักฐานอื่นๆ ที่จำเป็น อาทิ หากเปลี่ยนชื่อสกุล ต้องมีหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล ทะเบียนสมรส ฯลฯ มาแสดง เพื่อตรวจสอบข้อมูล
             - ข้อมูลชีวภาพ (วัดส่วนสูง เก็บลายพิมพ์นิ้วมือ นิ้วชี้ซ้ายและนิ้วชี้ขวาด้วยเครื่องสแกนเนอร์ และถ่ายรูปใบหน้า )
             - แจ้งความประสงค์หากต้องการขอรับเล่มทางไปรษณีย์
  3. ชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท (และค่าส่งไปรษณีย์ 35 บาทหากประสงค์ให้จัดส่งทางไปรษณีย์) รับใบเสร็จรับเงิน และรับใบนัดรับเล่ม    
ต้องการข้อมูลแบบละเอียด คลิ๊ก ระเบียบการหนังสือเดินทางธรรมดา   



:: สถานที่ให้บริการหนังสือเดินทาง ::
  • กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ  123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210  โทรศัพท์ 0-2981-7171-99  โทรสาร 0-2981-7256
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา  ที่อยู่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลซิตี้บางนา อาคาร "บางนาฮอลล์"(ด้านข้างศูนย์การค้า) ชั้น B1  โทรศัพท์ 0-2383-8402-4  โทรสาร 0-2383-8398
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปิ่นเกล้า  ที่อยู่ อาคารธนาลงกรณ์ทาวเวอร์(ชั้นใต้ดิน) แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กทม. 10700  โทรศัพท์ 0-2446-8111-2  โทรสาร 0-2446-8124
  • สำนักงานหนังสือเดินทาง ศูนย์บริการการไปทำงานต่างประเทศ  ที่อยู่ อาคารประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ดินแดง กทม.  โทรศัพท์ 0-2245-9439, 0-2245-9439  โทรสาร 0-2245-9438
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดขอนแก่น  ที่อยู่ หอประชุมอำเภอเมืองขอนแก่น ถนนศูนย์ราชการ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000  โทรศัพท์ 0-4324-2707 0-4324-2707 0-4324-2655 0-4324-2655  โทรสาร 0-4324-3441 0-4324-3441 
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดเชียงใหม่  ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000  โทรศัพท์ 0-5389-1535-6  โทรสาร 0-5389-1534
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดสงขลา  ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดสงขลา  อำเภอเมือง จ.สงขลา 90000  โทรศัพท์ 074-326508-10 โทรสาร 074-326511  074-326511
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดอุบลราชธานี  ที่อยู่ อาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000  โทรศัพท์ 045-242313-4  โทรสาร 045-242301 045-242301  E-mail : passport_ub@hotmail.com
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ที่อยู่ ศาลาประชาคม ถนนหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000  โทรศัพท์ 077-274940  077-274940  077-274942-3  โทรสาร 077-274941  077-274941
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดนครราชสีมา  ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ถนนมหาดไทย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000  โทร 044-243-132  044-243-132  044-243-124  044-243-124  โทรสาร 044-243-133  044-243-133
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดอุดรธานี  ที่อยู่ ศูนย์อเนกประสงค์ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี (ตรงข้ามกับศาลหลักเมือง) ถนนอธิบดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 4100  โทร  042-212827  042-212827  042-212-318  042-212-318  โทรสาร  042-222-810  042-222-810  
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชัวคราว จังหวัดพิษณุโลก  ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก ถนนเทพารักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000  โทร 055-258-173  055-258-173  055-258-155  055-258-155  055-258-131 055-258-131  โทรสาร 055-258-117  055-258-117
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดยะลา  ที่อยู่ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ถนนสุขยางค์ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000  โทรศัพท์ 073-274-526  073-274-526  073-274-036  073-274-036  073-274-037  073-274-037  โทรสาร 073-274-527  073-274-527
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ภูเก็ต  ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ถนนนริศร อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000  โทรศัพท์ 076-222-080  076-222-080  076-222-081  076-222-081  076-222-083  076-222-083  โทรสาร  076-222-082  076-222-082  
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว นครสวรรค์  ที่อยู่ ศูนย์บริการร่วมจังหวัดนครสวรรค์ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ถนนพหลโยธิน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000  โทรศัพท์ 056-233-453  056-233-453  056-233-454 056-233-454  โทรสาร 056-233-452  056-233-452
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จันทบุรี  ที่อยู่ อาคารลานค้าชุมชน ถ.เลียบเนิน ต.วัดใหม่ อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000  หมายเลขโทรศัพท์ 039-301-706-9

    ที่มา : กรมการกงศุล กระทรวงการต่างประเทศ http://www.consular.go.th/

แนะนำตัว

แนะนำตัวกันนิดนึงเน๊อะ ชื่อ "ดูดาว" ค่ะ แต่งงานหมาดๆ กับ "พี่กลม" ซึ่งเป็นโปรแกรมเมอร์ที่บริษัทฝรั่งแห่งหนึ่งในประเทศสิงคโปร์ หลังแต่งงานได้เพียง 2 วัน ก็บินมาคอยปรนนิบัติสามีที่นี่ เอาล่ะ.. จากนักบริหารการตลาดและประชาสัมพันธ์ เต็มใจผันตัวเองเป็น " สุดยอดแม่บ้านสาวสวยชาวไทย ณ ประเทศสิงคโปร์!!! " << เว่อร์เน๊อะ :D




เง่ออออ.. ละจะเริ่มกันตรงไหน ยังไงดีล่ะเนี่ยะ.. 


ก่อนหน้าที่จะมา.. แน่นอนค่ะว่า.. ต้องทำการศึกษาหาข้อมูลที่อยู่ อาหารการกิน การสื่อสารและคมนาคม สถานที่ท่องเที่ยวและช้อปปิ้ง (ช้อปปิ้ง สำคัญสุดในความรู้สึกของอิชั้น ..ว่ะฮ่ะฮ่า ^0^) ฯลฯ จากญาติมิตร จากหนังสือ และอินเตอร์เน็ต แต่ก็ยังหาแหล่งข้อมูลที่เบ็ดเสร็จ ประมาณว่า one stop service ไม่ได้ซักที ...เอางี้... ไหนๆ ก็มีเวลาว่าง ลงมือเขียนบล็อกเองซะเล้ยยย.. เผื่อใครจำเป็นที่ต้องมาใช้ชีวิตแบบบ้านๆ เหมือนดาว จะได้ไม่เอ๋อ ไม่งง เหมือนที่ดาวเคยเป็น.. อิอิ


ป่ะ.. เริ่มเลยล่ะกัน.....